053-94-3609 , 053-94-3611 , 053-943647 - 48
เกี่ยวกับเรา

เนื่องจากปัจจุบันโครงการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัยฯ มีสถานะเป็นโครงการจัดตั้ง และยังไม่ได้ขึ้นตรงกับผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานตามกฎหมาย ประกอบกับจากผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา การดำเนินงานของโครงการจัดตั้งศูนย์ฯ ไม่ได้จำกัดเฉพาะงานวิจัยในห้องปฏิบัติการเท่านั้น แต่ได้ขยายภารกิจครอบคลุมไปยังความปลอดภัยด้านอื่นๆ ที่นอกเหนือจากงานวิจัย เช่น สภาพความปลอดภัยในการทำงาน สุขภาวะอนามัย รวมทั้งความปลอดภัยด้านกายภาพของบุคลากร ที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 1/2565 ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2565 จึงได้มีมติให้ขยายขอบข่ายการดำเนินงานของโครงการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการความปลอดภัย
อาชีวอนามัยฯ จากการยกระดับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางด้านเคมี ชีวภาพ และรังสี ที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2561 โดยเพิ่มขอบข่ายการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยให้เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้เป็นไปตามกฎหมาย และให้มีการจัดทำโครงสร้างการดำเนินงานในลักษณะของคณะกรรมการอำนวยการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (คปอ. – มช.) โดยมีโครงสร้างคณะกรรมการตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด พร้อมทั้งให้มีการแต่งตั้ง คปอ. ระดับส่วนงานให้สอดคล้องกับระดับมหาวิทยาลัยต่อไป และต่อมาที่ประชุม กบม. ครั้งที่ 8/2565 ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับโครงสร้างการดำเนินงานของโครงการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการความปลอดภัยฯ และโครงสร้างของคณะกรรมการอำนวยการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (คปอ.-มช.) ให้เป็นไปตามกฎหมาย และให้ทุกส่วนงานมีการแต่งตั้ง คปอ.ระดับส่วนงาน เพื่อให้สอดคล้องกับมหาวิทยาลัยต่อไป และต่อมาที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 2/2565 ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 ได้มีมติให้ปรับชื่อหน่วยงานจากเดิม “ศูนย์บริหารจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” เป็น “ศูนย์บริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” เพื่อให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

และที่ประชุมกลุ่มผู้บริหารครั้งที่ 4/2565 ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบให้มีการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้เป็นส่วนงานอื่นแห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2551 โดยให้ดำเนินงานให้ครบทุกด้านตามกฎหมาย ทั้งนี้งานด้านบริหารงานบุคคล การเงินและพัสดุ ให้ดำเนินงานโดยภารกิจบริหารงานกลาง กองบริหารงานกลางต่อไป และต่อมาได้มีมติในที่ประชุมกลุ่มผู้บริหาร ครั้งที่ 9/ 2566 ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2666  ได้มีข้อเสนอแนะให้ศูนย์บริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU SHE) กำหนดกรอบยุทธศาสตร์การดำเนินงานให้ชัดเจน และจัดรูปแบบการบริหารจัดการที่มีความคล่องตัวและยืดหยุ่น (Agile & Resilient) และต่อมามหาวิทยาลัยได้พิจารณาแนวทางการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัยฯ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566 โดยมหาวิทยาลัยได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัยฯ เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานมหาวิทยาลัยตามมาตรา 9 (2) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2551

ภารกิจของเรา

เป็นหน่วยงานกลางในการยกระดับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยอย่างยั่งยืนในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วิสัยทัศน์

ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้เป็นสถาบันชั้นนำด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามมาตรฐานสากล ด้วยนวัตกรรมอย่างยั่งยืน

กลุ่มงาน

1. ภารกิจบริหารงานยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

1.1 งานส่งเสริมการอบรม/กิจกรรมพัฒนามาตรฐานความปลอดภัย

    • จัดทำมาตรฐานแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
    • พัฒนาหลักสูตรด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเชิงเทคนิคตามกลุ่มเป้าหมายและลักษณะงาน
    • พัฒนาหลักสูตรด้านการตรวจประเมินด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
    • ดำเนินการเกี่ยวกับการออกแบบ ร่วมผลิต จัดทำสื่อ เพื่อเผยแพร่หลักสูตรและนวัตกรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
    • ดำเนินงานจัดฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรตามกลุ่มเป้าหมาย ลักษณะงาน และความเสี่ยง จัดทำสื่อ กิจกรรม และช่องทางการสื่อสาร เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
    • ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกลุ่มภารกิจของศูนย์ หรือที่ได้รับมอบหมาย

1.2 งานระบบฐานข้อมูลความปลอดภัย

  • พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเพื่อส่งเสริม และประชาสัมพันธ์ และเป็นข้อมูลสำหรับปรับแผนการบริหารจัดการของศูนย์ ฯ และส่วนงาน
  • รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับห้องปฏิบัติการและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ อาทิ เช่น สารเคมี ชีวสาร รังสี และความปลอดภัยด้านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัย ที่อยู่ในแต่ละ
    ส่วนงานและหน่วยงาน
  • สรุป/รวบรวมสถิติอุบัติเหตุและเหตุการณ์ที่อาจนำไปสู่ความเสียหายที่เกิดขึ้นในแต่ละส่วนงานและหน่วยงาน เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลรายงานต่อฝ่ายบริหาร
  • ดูแลและพัฒนาข้อมูลข่าวสารทางเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มมูลค่าและผู้ใช้บริการ
  • ประสานงานในการให้บริการข้อมูล และเป็นที่ปรึกษาทางด้านวิชาการและสื่อสารด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

1.3 งานกิจกรรมพิเศษ

  •  
  • การตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ สำหรับตัวอย่างที่ได้จากการตรวจวัดความปลอดภัยทางด้านกายภาพจากห้องปฏิบัติการ 
  • การศึกษาและพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมที่ส่งเสริมความปลอดภัยในรูปแบบต่าง ๆ
  • การร่วมกิจกรรมอื่นใดที่ส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัย และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านความปลอดภัยในหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

1. ภารกิจบริหารงานยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

1.1 งานส่งเสริมการอบรม/กิจกรรมพัฒนามาตรฐานความปลอดภัย

    • จัดทำมาตรฐานแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
    • พัฒนาหลักสูตรด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเชิงเทคนิคตามกลุ่มเป้าหมายและลักษณะงาน
    • พัฒนาหลักสูตรด้านการตรวจประเมินด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
    • ดำเนินการเกี่ยวกับการออกแบบ ร่วมผลิต จัดทำสื่อ เพื่อเผยแพร่หลักสูตรและนวัตกรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
    • ดำเนินงานจัดฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรตามกลุ่มเป้าหมาย ลักษณะงาน และความเสี่ยง จัดทำสื่อ กิจกรรม และช่องทางการสื่อสาร เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
    • ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกลุ่มภารกิจของศูนย์ หรือที่ได้รับมอบหมาย

1.2 งานระบบฐานข้อมูลความปลอดภัย

  • พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเพื่อส่งเสริม และประชาสัมพันธ์ และเป็นข้อมูลสำหรับปรับแผนการบริหารจัดการของศูนย์ ฯ และส่วนงาน
  • รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับห้องปฏิบัติการและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ อาทิ เช่น สารเคมี ชีวสาร รังสี และความปลอดภัยด้านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัย ที่อยู่ในแต่ละ
    ส่วนงานและหน่วยงาน
  • สรุป/รวบรวมสถิติอุบัติเหตุและเหตุการณ์ที่อาจนำไปสู่ความเสียหายที่เกิดขึ้นในแต่ละส่วนงานและหน่วยงาน เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลรายงานต่อฝ่ายบริหาร
  • ดูแลและพัฒนาข้อมูลข่าวสารทางเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มมูลค่าและผู้ใช้บริการ
  • ประสานงานในการให้บริการข้อมูล และเป็นที่ปรึกษาทางด้านวิชาการและสื่อสารด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

1.3 งานกิจกรรมพิเศษ

  • การตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ สำหรับตัวอย่างที่ได้จากการตรวจวัดความปลอดภัยทางด้านกายภาพจากห้องปฏิบัติการ 
  • การศึกษาและพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมที่ส่งเสริมความปลอดภัยในรูปแบบต่าง ๆ
  • การร่วมกิจกรรมอื่นใดที่ส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัย และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านความปลอดภัยในหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

1. ภารกิจบริหารงานยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

1.1 งานส่งเสริมการอบรม/กิจกรรมพัฒนามาตรฐานความปลอดภัย

    • จัดทำมาตรฐานแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
    • พัฒนาหลักสูตรด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเชิงเทคนิคตามกลุ่มเป้าหมายและลักษณะงาน
    • พัฒนาหลักสูตรด้านการตรวจประเมินด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
    • ดำเนินการเกี่ยวกับการออกแบบ ร่วมผลิต จัดทำสื่อ เพื่อเผยแพร่หลักสูตรและนวัตกรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
    • ดำเนินงานจัดฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรตามกลุ่มเป้าหมาย ลักษณะงาน และความเสี่ยง จัดทำสื่อ กิจกรรม และช่องทางการสื่อสาร เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
    • ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกลุ่มภารกิจของศูนย์ หรือที่ได้รับมอบหมาย

1.2 งานระบบฐานข้อมูลความปลอดภัย

  • พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเพื่อส่งเสริม และประชาสัมพันธ์ และเป็นข้อมูลสำหรับปรับแผนการบริหารจัดการของศูนย์ ฯ และส่วนงาน
  • รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับห้องปฏิบัติการและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ อาทิ เช่น สารเคมี ชีวสาร รังสี และความปลอดภัยด้านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัย ที่อยู่ในแต่ละ
    ส่วนงานและหน่วยงาน
  • สรุป/รวบรวมสถิติอุบัติเหตุและเหตุการณ์ที่อาจนำไปสู่ความเสียหายที่เกิดขึ้นในแต่ละส่วนงานและหน่วยงาน เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลรายงานต่อฝ่ายบริหาร
  • ดูแลและพัฒนาข้อมูลข่าวสารทางเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มมูลค่าและผู้ใช้บริการ
  • ประสานงานในการให้บริการข้อมูล และเป็นที่ปรึกษาทางด้านวิชาการและสื่อสารด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

1.3 งานกิจกรรมพิเศษ

  • การตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ สำหรับตัวอย่างที่ได้จากการตรวจวัดความปลอดภัยทางด้านกายภาพจากห้องปฏิบัติการ 
  • การศึกษาและพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมที่ส่งเสริมความปลอดภัยในรูปแบบต่าง ๆ
  • การร่วมกิจกรรมอื่นใดที่ส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัย และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านความปลอดภัยในหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2. ภารกิจบริหารงานยุทธศาสตร์ด้านอาชีวอนามัย 

2.1 งานพัฒนาคุณภาพ การตรวจประเมินมาตรฐานด้านอาชีวอนามัย 

  • กำหนดและพัฒนามาตรการแนวปฏิบัติการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยให้เป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำของกฎหมาย รวมทั้งการพัฒนา ติดตาม ตรวจสอบ กำกับการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรการและ
    แนวปฏิบัติที่กำหนด
  • ออกแบบ และประสานงานแนวทางดำเนินการส่งเสริมและพัฒนารูปแบบกิจกรรมด้านอาชีว
    อนามัย ร่วมกับคณะกรรมการ และคณะทำงานส่วนงานที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัย
  • ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยในแต่ละส่วนงานและส่วนกลาง และจัดทำรายงาน 
  • นำผลงานการวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้การพัฒนาแนวปฏิบัติ เพื่อยกระดับความปลอดภัยด้าน
    อาชีวอนามัย   
  • ดำเนินการเผยแพร่และสื่อสารกิจกรรมด้านอาชีวอนามัยให้กับผู้ปฏิบัติงานกลุ่มเป้าหมายและตามลักษณะงาน
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกลุ่มภารกิจของศูนย์หรือที่ได้รับมอบหมาย

2.2 งานอาชีวอนามัย (Occupational Health) และสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมอาชีวอนามัย 

    • ส่งเสริมและพัฒนารูปแบบกิจกรรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมร่วมกับส่วนงาน
    • ศึกษาและประเมินสภาวะสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งศึกษาระดับความเสี่ยงต่อสุขภาพของสิ่งคุกคามแต่ละชนิดในห้องปฏิบัติการหรือพื้นที่ปฏิบัติงาน เพื่อวางแผนการตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงานให้เหมาะสมตามความเสี่ยงและเป็นไปตามกฎหมาย
    • สอบสวนอุบัติเหตุจากการทำงาน และพัฒนาแนวทางในการยกระดับการคุ้มครองสุขภาพอนามัยให้แก่ผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คลินิกโรคจากการทำงาน คณะแพทยศาสตร์ กองบริหารงานบุคคล และส่วนงานที่เกี่ยวข้อง
    • การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสุขภาพบุคลากรตามความเสี่ยงแบบครบวงจรบนระบบออนไลน์ บูรณาการร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ และกองบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    • การพัฒนาสื่อและช่องทางการเผยแพรประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงได้ง่าย
    • การจัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้และปลูกฝังวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยให้ทุกคนมีส่วนร่วม และการยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยให้ครอบคลุมตามกรอบที่กฎหมายกำหนด
    • ออกแบบ และร่วมสนับสนุนกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาวะบุคลากรด้านความปลอดภัยอาชีว
      อนามัย เช่น การควบคุมสัตว์พาหะนำเชื้อ และสัตว์มีพิษ สัตว์รบกวน การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ เช่น สุขอนามัยของผู้ประกอบการร้านอาหารภายในมหาวิทยาลัย เป็นต้น

2.3 งานบริหารศูนย์

  • จัดทำแผนกลยุทธ์ และแผนงานยุทธศาสตร์ รวมถึงแผนการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในที่เหมาะสม และการดำเนินการโครงการภายใต้แผนงานของศูนย์ฯ สนับสนุนการบริหารของผู้อำนวยการ เพื่อหนุนเสริมภาพรวมองค์กรให้ตอบสนองพันธกิจ กฎหมาย กลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมายและความคาดหวัง
  • ดำเนินการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนการบริหารศูนย์
  • พัฒนา และทบทวนระบบตัวชี้วัดและระบบกำกับดูแลภายในที่ตอบสนองตัวชี้วัด
  • ดูแลงานการจัดการความรู้ การบริหารนวัตกรรม และการบริหารระบบคุณภาพ (Quality Management) ของศูนย์
  • บริหารจัดการโครงการ/กิจกรรมภายในโดยประสานงานระบบงบประมาณ ระบบการเงินและการบัญชี งานพัสดุ และงานการให้บริการกลางของศูนย์ฯ กับหน่วยงานสนับสนุนของภารกิจบริหารงานกลาง
    กองบริหารงานกลาง สำนักงานมหาวิทยาลัย
  • ประสานงานแนวทางการปฏิบัติของงานตามภารกิจร่วมกับฝ่ายกฎหมาย งานสัญญา ความร่วมมือจากภายนอก
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
  • ประสานงานกับหน่วยงานสนับสนุนของภารกิจบริหารงานกลาง กองบริหารงานกลาง สำนักงานมหาวิทยาลัย และสนับสนุนภารกิจงานด้านอื่น ๆ ในด้านระเบียบ ข้อปฏิบัติ และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ประสานงานกับส่วนงานภายใน และหน่วยงานภายนอกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของศูนย์
  • ปฏิบัติงาน และประสานงานฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ ภายใต้ศูนย์ฯ

3. ภารกิจบริหารงานยุทธศาสตร์ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน

               3.1 งานพัฒนาคุณภาพ การตรวจประเมินมาตรฐานด้านความปลอดภัย และนวัตกรรม

  • กำหนดและพัฒนามาตรการแนวปฏิบัติการดำเนินงานด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำของกฎหมาย รวมทั้งการพัฒนา ติดตาม ตรวจสอบ กำกับการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรการและแนวปฏิบัติที่กำหนด
  • พัฒนาบุคลากรและผู้ปฏิบัติงานของส่วนงานให้มีความรู้ในการปฏิบัติงานตามลักษณะงาน ตามมาตรการและแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน  
  • ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนารูปแบบกิจกรรมด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานให้กับส่วนงาน และคณะทำงานส่วนงาน
  • ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการทำงานทุกประเภทอันตรายในแต่ละส่วนงานและส่วนกลาง และจัดทำรายงาน 
  • นำผลงานการวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้การพัฒนาแนวปฏิบัติ เพื่อยกระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ การตรวจประเมิน และการแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมในการทำงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง
  • ดำเนินการเผยแพร่และสื่อสารกิจกรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้กับผู้ปฏิบัติงานกลุ่มเป้าหมายและตามลักษณะงาน
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกลุ่มภารกิจของศูนย์ หรือที่ได้รับมอบหมาย

                3.2 งานติดตาม กำกับดูแล รวมทั้งประสานงานด้านความปลอดภัยและตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน

    • จัดทำแผนเตรียมพร้อมด้านความปลอดภัยและตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน การแก้ไขภาวะวิกฤติจากอุบัติภัย
    • จัดทำแผนการสื่อสารความเสี่ยง/ภาวะวิกฤติที่สนับสนุนการสื่อสารข้อมูลทั้งจากระดับมหาวิทยาลัย และระดับคณะส่วนงาน เพื่อประโยชน์ในการบริหารงาน
    • ดำเนินการประสานงานไปยังส่วนงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานอื่น เช่น ส่วนรักษาความปลอดภัยและจัดการจราจร ส่วนบริการสุขภาพของมหาวิทยาลัย โรงพยาบาล สถานีตำรวจ และสำนักงานเขตในพื้นที่ เป็นต้น
    • ตรวจสอบ และเสนอแนะให้มหาวิทยาลัยปฏิบัติการตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย
      อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
    • วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย รวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกัน หรือขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัย รวมถึงการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงาน
    • วิเคราะห์แผนงานโครงการ รวมทั้งข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ และเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อมหาวิทยาลัย
    • ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
    • แนะนำให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือ รวมถึง การฝึกสอน อบรมบุคลากรผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน
    • ตรวจวัด และประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือดำเนินการร่วมกับบุคคล หรือหน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้รับรอง หรือตรวจสอบเอกสารหลักฐาน รายงานในการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทำงานภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    • เสนอแนะต่อมหาวิทยาลัยเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
    • ตรวจสอบสาเหตุ และวิเคราะห์การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะต่อมหาวิทยาลัยเพื่อป้องกันการเกิดเหตุ
    • รวบรวมสถิติ วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำรายงาน และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย
      การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน
    • การดำเนินการด้านการเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ปลอดภัยโดยใช้ระบบการประเมินความเสี่ยงในสภาพแวดล้อมการทำงาน การรายงานสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Condition) และการรายงานเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ (Near miss) หรืออุบัติเหตุ (Accident) บนระบบออนไลน์
    • สนับสนุนอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ป้ายเตือนอันตราย /สัญลักษณ์เครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยการตรวจติดตามความพร้อมของเครื่องมือ/เครื่องจักร ในการทำงานตามความเหมาะสมของลักษณะงาน และระดับความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงาน
    • จัดทำฐานข้อมูลด้านความปลอดภัย โปรแกรมการรายงานอุบัติเหตุ และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ปลอดภัยรวมถึงฐานข้อมูลด้านความปลอดภัยทางกายภาพของอาคารบนระบบออนไลน์
    • จัดเตรียมความพร้อมและตอบโต้เหตุฉุกเฉิน
      • จัดทำคู่มือ/แนวปฏิบัติการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน ระดับมหาวิทยาลัย และส่วนงาน
      • จัดทำแผนการฝึกซ้อมอพยพอัคคีภัยและกำหนดบทบาทน้าที่และความรับผิดชอบของทีมเตรียมความพร้อมรับเหตุฉุกเฉินระดับมหาวิทยาลัย/ส่วนงาน
      • การสนับสนุนอุปกรณ์การตอบโต้เหตุฉุกเฉิน (อุปกรณ์ดับเพลิง, ป้ายทางหนีไฟ ฯลฯ)
      • การตรวจความปลอดภัยของการป้องกันอัคคีภัยให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ เช่น ประตูหนีไฟ, ทางหนีไฟ, smoke detector, ไฟฉุกเฉิน ฯลฯ)
      • ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่มหาวิทยาลัยมอบหมาย

          3.3 งานพัฒนาส่งเสริมการเรียนรู้และสารสนเทศ

  • ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารและพัฒนางานบุคคลของศูนย์ ในสายงานเทคนิค/การอบรมเพิ่มพูนทักษะเฉพาะด้าน
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการ งานประชุม และอำนวยความสะดวกแก่
    คณะกรรมการบริหาร คณะอนุกรรมการ ที่ปรึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะทำงานด้านต่างๆ
  • จัดเตรียมเนื้อหา ข่าวสารข้อมูล และประสานงานกับศูนย์สื่อสารองค์กร ในการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารต่อสาธารณะ
  • ดำเนินการรับเรื่องและแจ้งเหตุ การรายงานอุบัติภัย ความเสี่ยง ปัญหาความปลอดภัย และ
    การใช้บริการของส่วนงาน
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกลุ่มภารกิจของศูนย์ หรือที่ได้รับมอบหมาย
  • เตรียมแผนงานส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ บุคลากรภายใน และวิทยากรในหลักสูตร
    ความปลอดภัยด้านต่าง ๆ
  • พัฒนาประสานงานการออกแบบจัดทำหลักสูตรด้านการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานตามกลุ่มเป้าหมายและลักษณะงาน
  • ดำเนินงานวางแผนการพัฒนาบุคลากรและการเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • ประสานงานภารกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างปลอดภัย (สิ่งพิมพ์และออนไลน์) เช่น โปสเตอร์/วิดีโอความรู้ด้านการสวมใส่ PPE ให้ถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงการปฏิบัติงานให้ปลอดภัย

    สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีภารกิจหลักที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การจัดทำฐานข้อมูลและดัชนีด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางและหลักเกณฑ์ในการบริหารจัดการระบบการวิจัยให้มีมาตรฐานเดียวกัน และจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการวิจัยในระดับหน่วยงานวิจัย ซึ่งปัจจุบัน วช. จึงได้ มีประกาศนโยบายส่งเสริมความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมีและการขับเคลื่อน (พ.ศ. 2562 – 2565) โดยขยายขอบข่ายครอบคลุมสารอันตรายและอาชีวอนามัยในห้องปฏิบัติการ ทั้งสถาบันการศึกษา องค์กรของรัฐ และหน่วยงานภาคเอกชน โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็น 1 ใน 12 มหาวิทยาลัยแม่ข่ายที่ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง มหาวิทยาลัยแม่ข่ายด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการกับ วช. เพื่อร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาด้านมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการให้คลอบคลุมทั่วทั้งประเทศต่อไป

CMU SHE : ศูนย์บริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Copyright © 2024 CMU Center for Safety, Occupational Health and Workplace Environment, Chiang Mai University. All rights reserved.